interrogation1
การเลี้ยงเป็ดไข่เพื่อผลิตเป็ดไข่จำหน่าย
1. เหตุผลและความเหมาะสม
เป็ดไข่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรค
สามารถใช้วัสดุท้องถิ่นหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารได้ ประชาชนนิยมบริโภคไข่เป็ด
นอกจากนี้ไข่เป็ดสามารถนำไปประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด
เหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ การทำไข่เค็ม เป็นต้น
2. เงื่อนไขความสำเร็จ
1. พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ห่างไกลจากชุมชน
2. ต้องมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติ หรือมีวัสดุ เหลือจากระบบการเกษตร
หรือผลพลอยได้จากโรงงาน
3. ต้องมีตลาดรับซื้อไข่เป็ดอย่างชัดเจน และระยะยาว
4. ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการแปรรูปไข่เป็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าในการณีมีปัญหาด้านราคาและการตลาด
3. เทคโนโลยี และกระบวนการผลิต
3.1 พันธุ์เป็ดจะนิยมใช้เป็ดไข่ พันธุ์กากีแคมป์เบลล์ หรือลูกผสม
ควรหาพันธุ์ซื้อจากฟาร์มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความเชื่อถือไว้ใจได้ และไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
3.2 การจัดการเลี้ยงดูควรเริ่มด้วยการเลี้ยงเป็ดสาวอายุประมาณ 18 – 20 สัปดาห์ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงเป็ดควรทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายหรือมีในท้องถิ่นโรงเรือนควรตั้งอยู่ในแนวทิศ
ตะวันออก – ตก ต้องสามารถกันแดดกันฝนได้ และมีลานปล่อยอยู่ด้านนอก
เพื่อปล่อยให้เป็ดออกหาอาหารตามธรรมชาติกินและได้ออกกำลังกาย พื้นที่โรงเรือนเลี้ยงเป็ด ขนาด 1
ตารางเมตร จะเลี้ยงเป็ดไข่ได้ 5 ตัว เป็ดจะเริ่มไข่เมื่ออายุ 21 สัปดาห์
ในระยะนี้เป็ดต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์
ให้เป็ดกินอาหารอย่างเต็มที่ โดยเฉลี่ยประมาณ 150 กรัมต่อตัวต่อวัน
ต้องทำความสะอาดที่ให้น้ำก่อนทุกครั้ง และต้องมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดเวลา
การเลี้ยงในช่วงเป็ดกำลังไข่ต้องพิถีพิถันระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะถ้าเป็ดตกใจหรือได้รับความเครียดจ
ะทำให้ผลผลิตน้อยลง อาหารสำหรับเลี้ยงเป็ด โดยทั่วไปจะนิยมอาหารสำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาดทั่วไป
หรืออาจนำเอาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาผสมใช้เองตามสูตร
ในการผสมใช้เองเกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์
ถ้าจะใช้ผสมเป็นอาหารใช้ในปริมาณน้อยและต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดีปราศจากเชื้อรา
เนื่องจากเชื้อราจะสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายกับเป็ด ทั้งนี้
ควรนำอาหารธรรมชาติหรือเศษเหลือจากอาชีพการเกษตร เช่น แหน ผัก หอยเชอรี่
หรือผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มาใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต
และมีการคมนาคมสะดวก
1. เหตุผลและความเหมาะสม
เป็ดไข่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรค
สามารถใช้วัสดุท้องถิ่นหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารได้ ประชาชนนิยมบริโภคไข่เป็ด
นอกจากนี้ไข่เป็ดสามารถนำไปประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด
เหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ การทำไข่เค็ม เป็นต้น
2. เงื่อนไขความสำเร็จ
1. พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ห่างไกลจากชุมชน
2. ต้องมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติ หรือมีวัสดุ เหลือจากระบบการเกษตร
หรือผลพลอยได้จากโรงงาน
3. ต้องมีตลาดรับซื้อไข่เป็ดอย่างชัดเจน และระยะยาว
4. ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการแปรรูปไข่เป็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าในการณีมีปัญหาด้านราคาและการตลาด
3. เทคโนโลยี และกระบวนการผลิต
3.1 พันธุ์เป็ดจะนิยมใช้เป็ดไข่ พันธุ์กากีแคมป์เบลล์ หรือลูกผสม
ควรหาพันธุ์ซื้อจากฟาร์มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความเชื่อถือไว้ใจได้ และไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
3.2 การจัดการเลี้ยงดูควรเริ่มด้วยการเลี้ยงเป็ดสาวอายุประมาณ 18 – 20 สัปดาห์ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงเป็ดควรทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายหรือมีในท้องถิ่นโรงเรือนควรตั้งอยู่ในแนวทิศ
ตะวันออก – ตก ต้องสามารถกันแดดกันฝนได้ และมีลานปล่อยอยู่ด้านนอก
เพื่อปล่อยให้เป็ดออกหาอาหารตามธรรมชาติกินและได้ออกกำลังกาย พื้นที่โรงเรือนเลี้ยงเป็ด ขนาด 1
ตารางเมตร จะเลี้ยงเป็ดไข่ได้ 5 ตัว เป็ดจะเริ่มไข่เมื่ออายุ 21 สัปดาห์
ในระยะนี้เป็ดต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์
ให้เป็ดกินอาหารอย่างเต็มที่ โดยเฉลี่ยประมาณ 150 กรัมต่อตัวต่อวัน
ต้องทำความสะอาดที่ให้น้ำก่อนทุกครั้ง และต้องมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดเวลา
การเลี้ยงในช่วงเป็ดกำลังไข่ต้องพิถีพิถันระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะถ้าเป็ดตกใจหรือได้รับความเครียดจ
ะทำให้ผลผลิตน้อยลง อาหารสำหรับเลี้ยงเป็ด โดยทั่วไปจะนิยมอาหารสำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาดทั่วไป
หรืออาจนำเอาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาผสมใช้เองตามสูตร
ในการผสมใช้เองเกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์
ถ้าจะใช้ผสมเป็นอาหารใช้ในปริมาณน้อยและต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดีปราศจากเชื้อรา
เนื่องจากเชื้อราจะสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายกับเป็ด ทั้งนี้
ควรนำอาหารธรรมชาติหรือเศษเหลือจากอาชีพการเกษตร เช่น แหน ผัก หอยเชอรี่
หรือผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มาใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต
และมีการคมนาคมสะดวก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น